หน้าแรก
โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ ฯ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
สารบัญ
     
หน่วยที่ 4 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
บทที่ 12 การการอนุรักษ์และการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก  
     
  อนุสัญญาแรมซาร์   Ramsar Convention  
            อนุสัญญาแรมซาร์ Ramsar Convention หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน และ กำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก World Wetlands Day  
            ข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์  
          เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นโดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุกๆด้าน ตลอดจนเพื่อยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยมีพันธกิจที่สำคัญ ในการดำเนินงานระดับชาติโดยความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคของโลก อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514
 
     
  ข้อกำหนดเกี่ยวกับ แรมซาร์ ที่ควรรู้  
            - อนุสัญญาแรมซาร์ไม่ละเมิดอำนาจอธิปไตยของภาคี ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ 
 
            - อนุสัญญาแรมซาร์เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน 
 
            - พื้นที่ชุ่มน้ำใดทีได้รับการเสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแล้ว ต่อมามีความจำเป็น ภาคีสามารถเพิกถอนออกจากทำเนียบหรือจำกัดขอบเขตใหม่ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเสนอพื้นที่อื่นทดแทนด้วย  
     
            ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่อยู่ในทะเบียนรายนามพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ หรือ แรมซาร์ไซต์ ของอนุสัญญา
ว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำรวมทั้งสิ้น 14 แห่ง โดยอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า จำนวน 9 แห่ง และอยู่ในพื้นที่ชุมชนและ/ หรือ
ที่สาธารณะ รวม 5 แห่ง ดังนี้
 
     
  1. พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย  ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง  
  2. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง    เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านต้อง ตำบลโสกก่าม อำเภอเซกา ตำบลบึงโขงหลง ตำบลโพธิ์หมากแข้ง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ   
 
  3. ดอนหอยหลอด ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้วและตำบลคลองโคนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
 
  4. พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่   
  5. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย ตำบลโยนก และตำบลป่าสัก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย  
  6. พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ (พรุโต๊ะแดง)  อำเภอตากใบ สุไหงโก-ลกและสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
 
  7. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง  ตั้งอยู่ในเขตตำบลนาเกลือ ตำบลลิบง ตำบลหาดสำราญ อำเภอสิเกา
อำเภอปะเหลียน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
 
  8. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์  อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง และอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
 
  9. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง  ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  
  10. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา  อำเภอเมือง อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา   
  11. พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
 
  12. พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ  
  13. พื้นที่ชุ่มน้ำเกาะกระ อำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช  
  14. พื้นที่ชุ่มน้ำเกาะระ เกาะพระทอง จ.พังงา  
     
     
     
Copyright By : Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th